วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

Single Gateway คืออะไร?



Single Gateway คืออะไร?
เริ่มจากคำว่าเกตเวย์ก่อน เกตเวย์ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆก็คือประตูทางผ่าน ศัพท์ในวงการไอทีหมายถึงจุดที่เป็นเสมือนประตูเชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง และเป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน 

สมมุติว่าเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเซิฟเวอร์ ปัจจุบันจะต้องผ่าน International internet gateway (IIG) ในประเทศเล็กๆ หรือประเทศที่ต้องการควบคุมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น จีน ผู้ให้บริการ IIG จะมีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยก็เคยใช้ระบบนี้ตอนที่อินเตอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก คือเวลาต่ออินเตอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมที่ กสท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ IIG แต่ในปัจจุบัน หลังวิกฤติปี 40 ไอเอ็มเอฟก็ได้สั่งให้เราเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้เกตเวย์ในไทยเพิ่มมากขึ้นจนตอนนี้มีถึงสิบกว่าเกตเวย์แล้ว


เพราะฉะนั้น Single Gateway เปรียบเสมือนการใช้ประตูเพียงบานเดียว เข้าออก ทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตง่ายต่อการควบคุมโดยภาครัฐ

ถ้าตั้ง Single Gateway จริง ท่านจะพบเจอกับอะไร?

  • การถูกบล็อก แบน สแกน และตรวจสอบทุกการใช้งานในอินเตอร์เนตจากรัฐบาล
  • รัฐบาลสามารถป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้เข้าได้ เหมือนประเทศจีน ที่ไม่อนุญาตให้เข้า Facebook หรือสื่อ Social Network ที่รัฐไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึง
  • การติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เนตทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับระบบเดียว และถ้าระบบนั้น "ถูกโจมตีจนล้มเหลว" นั่นหมายถึงระบบอินเตอร์เนตที่ต้องพินาศทั้งประเทศ
  • ความเชื่อมั่นของต่างชาติเกี่ยวกับระบบความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เนตต่ำถึงขีดสุด เพราะหน่วยงานเอกชนสามารถถูกล้วงลูกโดยรัฐบาลได้ตลอดเวลา
ทำไมรัฐจะกลับมาใช้ Single Gateway?
อย่างที่กล่าวไปแล้ว Single Gateway คือประตูเพียงบานเดียว คือไม่ว่าอินเตอร์เน็ตภายในประเทศจะเชื่อมกันกี่หมื่นกี่พันเส้น แต่ทางออกเพื่อไปเชื่อมกับเครือข่ายในต่างประเทศนั้นจะเหลือแค่จุดเดียวเท่านั้น การดูแลการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การตรวจสอบข้อมูล การดักจับข้อมูล ฯลฯ จึงทำได้ง่ายกว่าเยอะ ในรัฐที่มีการปกครองแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จเช่นประเทศไทย จึงอาจเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเท่าไร ที่รัฐบาลจะพยายามควบคุมการใช้งานและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก โดยอ้าง ‘ความมั่นคง’
ปัญหาและสิ่งที่จะตามมาของการใช้ Single Gateway?
แน่นอนว่าการมีประตูทางออกเดียวจะทำให้อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน และอีกอย่างคือหากว่าเกตเวย์ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มีเกตเวย์ตัวอื่นรองรับเลย
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการที่ผู้ให้บริการ gateway (ซึ่งมีอยู่เจ้าเดียว) สามารถดักจับข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่เราค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพด้วย

ถ้าหากมีการใช้ Single Gateway จริง ก็จะยิ่งทำให้บริษัทต่างประเทศลังเลมากยิ่งขึ้นในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และผู้ให้บริการที่มีพาร์ทเน่อร์กับบริษัทต่างประเทศก็อาจจะสูญเสียรายได้ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติจะเกิดความไม่แน่ใจด้านความมั่นคงและปลอดภัยของการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเรา หากล่มปุ๊ป แน่นอนว่าจบเห่แน่ทั้งประเทศ รวมถึงข้อมูลความลับทางการค้าก็อาจจะถูกล้วงได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วไปก็จะถูกจำกัดการเข้าใช้งานกับเครือข่ายต่างประเทศมากยิ่งขึ้น และยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษกับการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน

MailChimp บริการ E-Mail Marketing

สำหรับเคล็ดลับ Social Media Marketing ฉบับจับมือทำรอบนี้ก็คงหนีไม่พ้นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และสามารถวัดผล ROI ให้กับแคมเปญการตลาดของเรา เครื่องมือที่จะยกมาให้รู้จักกันวันนี้คือ เครื่องมือสำหรับทำการตลาด และจัดการข่าวสารให้ถึงมือสมาชิกผ่านอีเมล หรือที่เรารู้จัก E-Mail Marketing ที่มีชื่อว่า MailChimp เป็นแอพพลิเคชันหนึ่งที่เราสามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยสามารถค้นหาผ่าน Google และ Chrome WebStore ครับ
บริการของ MailChimp
เพราะว่า อีเมลยังคงเป็นเครื่องมือการตลาดพื้นฐาน ที่ยังไปถึงมือคนทุกกลุ่มได้อยู่เสมอ ทั้งบนหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี และสมาร์ทโฟน ยังไงผู้คนทั่วไปก็คงต้องเช็คอีเมลของตนอยู่ตลอดเวลา และ E-Mail Marketing นั้นก็ยังเป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ยังคงวัด ROI ได้เสมอ ธุรกิจ E-Mail Marketing จึงยังคงมีอยู่ และมีให้เลือกใช้มากมาย
ฟังก์ชันธุรกิจหลักๆ ของ MailChimp
แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดนั้น  นอกจากเนื้อหาโปรโมชันของแคมเปญจะดีจริง ก็คงหนีไม่พ้นระเด็นการติด Junk Mail ซึ่งถ้าไปลงใน Junk การตลาดของเราก็คงจะเกิดยากล่ะครับ และยิ่งเสียเงินจ้างบริษัทรับส่ง E-Mail Marketing ราคาแพง แล้วยังลง Junk อยู่ก็เป็นอันจบครับ สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ในเมื่อจะลองตลาดทั้งทีทำไมเราไม่ลอง หาอะไรฟรีๆ ทดลองใช้ดูก่อน ซึ่งผมก็เลยต้องแนะนำเจ้า Mail Chimp ครับ มันมีอัตราที่เรียกเก็บเงินตามตารางบริการของมัน แต่บริการฟรีของมันก็มีนั่นคือ โควต้าของการส่งให้ลูกค้า หรือ Subscriber ฟรีนั้นอยู่ที่ 2,000 อีเมลต่อวัน 12,000 อีเมลในการส่งต่อเดือนครับ ว่าแล้วก็เข้าไปที่เว็บไซต์กันหน่อยดีกว่าครับhttp://www.mailchimp.com เมื่อเราเข้ามาที่เว็บไซต์ของ MailChimp แล้วให้ลองสมัครสมาชิกก่อนเลยครับ ที่ปุ่ม Sign Up Free แล้วก็กรอกตามที่เว็บไซต์ขอนั่นแหละครับ
เข้าสู่ระบบของ MailChimp
ต่อจากนั้นครับ ให้เราทำการ Confirm อีเมลของเราแล้วเข้าสู่ระบบหน้าเว็บไซต์ด้วย Username และ Password ที่เราสมัครไว้ครับ แล้วก็ทำการ Import Subscribe  หรือชายชื่อและอีเมล์ขึ้นไป ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์นามสกุล .CSV หรือจะไล่กรอกก็ได้ตามที่เราถนัดครับ สำหรับไฟล์ CSV นั้นให้คั่นแต่ละช่วงข้อมูลด้วยเครื่องหมาย “,” หรือคอมม่า นะครับ เช่น
Email,FirstName,LastName
แล้วก็เคาะ Enter แล้วก็ตามด้วย
daydevthailand@gmail.com,Banyapon,Poolsawasd
อะไรทำนองนี้ครับ อีเมล และชื่อ บรรทัดละคนนะครับห้ามเกิน 2,000 ตัว(บรรทัด) เมื่อเข้ามาแล้วจะมี หน้าจอการจัดการ แคมเปญของอีเมลให้เลือก ก็แล้วแต่จะเลือกนะครับ อาจจะเป็นจดหมายเชิญชวน จดหมายเกี่ยวโปรโมชัน แต่ที่ผมชอบที่สุดคือ RSS Driver ครับ เพราะว่าเวลาที่เรากรอก RSS ของเว็บไซต์เราที่อาจจะสร้างมาจาก เว็บไซต์เราเอง, Fan Page RSS ของเรา หรือ Wordpess, Joomla แล้วมันจะสามารถตั้งให้ส่งอีเมลจาก MailChimp ได้อัตโนมัติตามเวลาที่กำหนดให้ส่ง หรือเมื่อมีบทความใหม่ได้อัพโหลดขึ้นไปครับ เพื่อนๆใน ลิสอีเมล์ของเราก็จะได้อัพเด็ตกันทันทีโดยเราไม่ต้องทำไรมาก
ตัวอย่างเลือก RSS
เมื่อทำการเลือกรูปแบบ RSS-driven แล้วก็ทำการหา URL ของ RSS Feed มากรอกแล้วตั้งค่าเบื้องต้นตามที่เว็บไซต์อธิบายครับ
บริการของ MailChimp
ทำการเลือกตั้งค่าด้านขวาที่เราต้องการ Track ตรวจจับความก้าวหน้าของอีเมลเวลาส่งไปยัง Inbox ครับ ซึ่งมีทั้ง Google Analytics  ให้ใช้ได้ด้วย
ตััวอย่างการตั้งค่าของอีเมล์
กดปุ่ม Next ครับตามขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการเลือกการจัดรูปแบบหน้าแสดงผลอีเมลของเราครับ ซึ่งแบบ RSS จะมีรูปแบบของมันอยู่แล้วครับ
ทำการเลือกแบบ Template ของอีเมลที่จะส่งไป
รูปแบบอีเมล์ที่ผมเลือก แบบ RSS-Driven
กด Next อีกครั้งจะเป็นการเข้าไปตั้งค่า Plain Text ของอีเมลครับ กรณีที่ Subscriber ของเราเค้าอยากอ่านแบบ Text ธรรมดา
ตั้งค่า Plain Text ได้
เมื่อเสร็จแล้วก็จะเข้าสู่หน้าจอการเตรียมความพร้อมก่อนส่ง อีเมลหากมีคำเตือนใดๆ จะไม่สามารถส่งอีเมลได้ จนกว่าเราจะเข้าไปแก้ไขครับ
เตรียมความพร้อมก่อนส่ง
เมื่อพร้อมแล้วเราก็ต้องทดสอบส่งก่อน การทดสอบให้เลื่อนลงมาข้างล่างครับ ทำการ Test Send ตามรูป แล้วกรอกอีเมลที่เราต้องการทดสอบลงไป
ทดสอบกันหน่อย
สามารถตั้งเวลา ให้ส่งล่วงหน้าได้ ตามรูปประกอบด้านล่าง
หน้าจอตัวอย่าง ของ MailChimp
เรื่องสุดท้ายที่น่าทึ่งคือ หลังจากที่เราทำการส่งอีเมลผ่านระบบของ MailChimp ไปแล้วเราสามารถเข้ามาดู รายงาน หรือ Report ที่ออกแบบอย่างเรียบง่าย ดูดี และวิเคราะห์ได้ว่า ส่งไปกี่อีเมล ถูกเปิดอ่านกี่คน และ ยกเลิกสมาชิกในการรับอีเมลไปกี่คน
หน้าจอของระบบรายงาน สถิติ
เป็นเครื่องมือที่เอนกประสงค์ครบถ้วนจริงๆ ใช่ไหมครับสำหรับ MailChimp แล้วผู้อ่านจะรอช้าอยู่ทำไม ถ้าเป็น SMEs แล้วประหยัดไว้ก่อน แล้วมาใช้ของฟรีกันหน่อยดีกว่า กับเครื่องมือดีๆ มีคุณภาพแบบนี้ครับ






ขอบคุณข้อมูลจาก daydev ,km.citu.tu.ac.th


E-Tailing and B2C Market



E-Tailing and B2C Market 

Business-to-consumer (B2C)
  • ลักษณะของการค้าแบบ B2C ส่วนใหญ่จะเป็นการขายตรงไปยังลูกค้า โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง  เช่น ผู้ส่งออก  พ่อค้าคนกลาง  นายหน้า  ตัวแทนขาย  หรือ ตัวแทนจำหน่าย 

ความสำเร็จของธุรกิจแบบ B2C เกิดจาก
  • การเสนอขายสินค้าที่คุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม
  • มีการบริการลูกค้าทีดีเยี่ยม
  • ความสะดวกสบาย
การค้าปลีกอิเลกทรอนิกส์(Electronic Retailing)
  • หมายถึงการขายสินค้าและการบริการให้กับผู้บริโภคผ่านทางสื่ออิเลกทรอนิกส์โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือตลาดกลางอิเลกทรอนิกส์ (E-Marketplace) 
การค้าปลีกอิเลกทรอนิกส์แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
  • Electronic Storefront
  • Electronic Mall
Electronic Storefront
  • หมายถึงเว็บไซต์ร้านค้าเสมือน สำหรับเสนอขายสินค้าและบริการภายในเว็บไซต์ตนเองเท่านั้น
  • General Storefront  ขายของทั่วไป
  • Specialize Storefront  ขายของเฉพาะมุ่งไปสินค้าตัวใดตัวหนึ่งตามความต้องการของลูกค้า 
Electronic Mall
  • ร้านสรรพสินค้าเสมือน(Cybermall) เป็นเว็บไซต์กลางที่รวบรวมเว็บไซต์ต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน
  • เช่น www.ebay.com, www.shopnow.com,www.pantip.com
สินค้าที่นิยมสำหรับ E-tailing
  • ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • กีฬา
  • เครื่องใช้สำนักงาน
  • หนังสือและเพลง
  • ของเด็กเล่น
  • สุขภาพและความงาม
  • บันเทิง
  • เครื่องนุ่งห่ม
  • รถยนต์
  • งานบริการ

ลักษณะสินค้าที่มียอดขายสูงในระบบ Online
  • ราคาถูก 
  • Brand Equity ความนิยมในตราสัญลักษณ์สินค้า 
  • มีการรับประกันให้กับลูกค้า
  • Digital Goods  
  • ใช้บ่อย เช่น สินค้าบริโภค อุปโภค หรือ ยารักษาโรค
  • มีมาตรฐานผ่านการตรวจ และรับรอง
  • ไม่สามารถทดลอง หรือหาดูในร้านค้าทั่วไปได้ 


E-Retailing หรือ E-Tailing

E-Retailing หรือ E-Tailing
E-Retailing หรือ E-Tailing หมายถึง การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-marketplace) โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.)  Electronic Storefront หมายถึงเว็บไซต์ร้านค้าเสมือน (virtualstore) ใช้สำหรับนำเสนอเพื่อขายสินค้าและบริการภายในเว็บไซต์ของตนเองโดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือตลาด ตัวอย่างเช่นamazon.com เป็นต้น
2.)  Electronic Mall ร้านสรรพสินค้าเสมือน Cybermall หมายถึงเว็บไซต์กลางรวบรวมเว็บไซต์ต่างๆ เข้าไว้ในที่เดียวกัน เปรียบเทียบเหมือนได้กับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมร้านค้าต่างๆไว้ที่เดียวกัน
สินค้า/บริการที่เหมาะกับ E-Retailing ควรมีลักษณะดังนี้
 O ชื่อ / ตรายี่ห้อสินค้า จดจำได้ง่าย และสินค้าเป็นที่ยอมรับ
 O สินค้า / บริการ ควรมีบริการหลังการขาย สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
 O สินค้า / บริการ ควรมีมาตรฐาน
 O สินค้าที่จัดจำหน่ายควรเป็นสินค้าที่ไม่วางขายในท้องตลาด หรือถ้ามีวางขายราคาต้องถูกกว่า
สินค้าที่นิยมสำหรับ E-tailing
-    ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
-   เครื่องใช้ไฟฟ้า
-    กีฬา
-    เครื่องใช้สำนักงาน
-    หนังสือและเพลง
-    ของเด็กเล่น
-    สุขภาพและความงาม
-    บันเทิง
-    เครื่องนุ่งห่ม
-    รถยนต์
-    งานบริการ
ลักษณะของ E-tailing
-    E-tailing เติบโต ในญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ เมเลเซีย  ไต้หวัน ฮ่องกง และอิสราเอล
-    ขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
-    คัดลอกจากประเทศ แถบ ต.ตก
-    ประเทศที่ใช้คอมเยอะ คือ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน
-    มีหลากหลายภาษา
ประโยชน์ของ E-Retailing        
O ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
O ลดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ
O ลูกค้าสามารถเลือกชมสินค้าได้ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้หรือสินค้าที่จับต้องไม่ได้เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, เพลง, ซอฟต์แวร์ เป็นต้น

ร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tailing)


ร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tailing)


    การตลาด มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ระบบการจัดจำหน่ายเป็นระบบหนึ่งซึ่งนักการตลาดได้ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันช่องทางการจัดจำหน่ายจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคมี 3 ช่องทางหลัก ดังนี้

1.    ช่องทางการกระจายสินค้าแบบการตลาดดั้งเดิม (Traditional Trade) คือ จากผู้ผลิตไปยังยี่ปั๊ว ซาปั๊ว และร้านโชว์ห่วย  ซึ่งการจัดการในร้านค้าไม่ค่อยเป็นระบบ
2.    ช่องทางการกระจายสินค้าแบบการตลาดสมัยใหม่ (Modern Trade) คือ จากผู้ผลิตไปยังศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และร้านค้าสมัยใหม่ประเภทต่างๆ อาทิเช่น คอนวิเนี่ยนสโตร์อย่างเซเว่นอีเลเว่น หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งมีการจัดการในร้านค้าอย่างเป็นระบบ
3.    ช่องทางการกระจายสินค้าแบบการตลาดทางตรง (Direct Marketing) คือ ไม่ผ่าน ตัวแทนการจำหน่าย ซึ่งมีเครื่องมือหลายเครื่องมือ อาทิเช่น การขายตรงโดยพนักงานขาย การใช้จดหมายทางตรง (Direct Mail) การขายโดยใช้โทรศัพท์ (Tele-Marketing) หรือการขายทางอินเทอร์เน็ต

การตลาดบนอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด การสร้างร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจแบบออนไลน์ประสบผลสำเร็จ แต่เนื่องจากการค้าแบบออนไลน์หรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tailing) เป็นการค้าที่เพิ่งเริ่มต้นกันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ และผู้ค้าอิเล็กทรอนิกส์  (E-Tailor) ส่วนใหญ่ยังเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจอย่างไม่ค่อยถูกหลักการ บทความนี้จึงนำเสนอขั้นตอนในการสร้างร้านค้าที่ถูกต้องตามหลักการ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ต้องการทำการค้าแบบออนไลน์ 

ขั้นตอนในการตั้งร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์

1.    จัดทำแผนธุรกิจ (Do Business Plan)
ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ธุรกิจควรจะต้องจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) ก่อน เพราะการทำแผนธุรกิจเป็นการวิเคราะห์ธุรกิจทั้งทางด้านความเป็นไปได้ทางการตลาด การเงิน การผลิต และการจัดการอื่น จากนั้นจึงกำหนดวิธีการดำเนินงาน และการควบคุม แม้ว่ายังไม่เป็นการปฏิบัติจริง แต่เป็นเสมือนการสร้างคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การทำแผนธุรกิจจะทำให้บริษัททราบสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน อาทิเช่น ธุรกิจที่จะทำมีกำไรหรือไม่? บริษัทควรจะดำเนินกลยุทธ์อย่างไร? บริษัทจะต้องจัดสรรทรัพยากรอย่างไร? บริษัทจะต้องจัดการทางด้านการเงินอย่างไร? เป็นต้น

เนื้อหาหลักของแผนธุรกิจ มีดังนี้

1.    บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
เป็นส่วนสรุปถึงลักษณะของธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ การกำหนดตลาดเป้าหมาย กลยุทธ์ของธุรกิจ และผลที่คาดว่าจะได้รับ

2.    อุตสาหกรรมและบริษัท
ส่วนนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรรมหนึ่ง เช่น ถ้าบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนนี้จะเป็นรายละเอียดของอุตสาหกรรมอาหาร และรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท สินค้าและบริการ

3.    การวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญทางการตลาด
อาทิเช่น สภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี คู่แข่งขัน ลูกค้า และกฎระเบียบของทางราชการหรือประเทศที่ต้องการเข้าไปทำการค้าด้วย ในส่วนนี้ข้อมูลใดที่เป็นข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ อาจต้องใช้การวิจัยตลาดเข้าช่วย

4.    ทำแผนการตลาด
ในส่วนนี้เป็นการกำหนดกลยุทธ์การตลาด อาทิเช่น การกำหนดตลาดเป้าหมาย เป้าหมายทางการตลาดและการขายกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด อันได้แก่ กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ราคา กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย และกลยุทธ์การส่งเสริมและสื่อสารการตลาด ตลอดจนการควบคุมและตรวจสอบทางการตลาด

5.    ทำแผนการผลิต
ในส่วนนี้เป็นการกำหนดแผนการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการขาย เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการตั้งโรงงาน การจัดหาวัตถุดิบ ระยะเวลาในการผลิตและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

6.    การจัดองค์กรและผู้บริหาร
เป็นการวางแผนการบริหารการจัดการ การจัดองค์กรและบุคลากรทุกระดับ

7.    แผนการเงิน
เป็นการประมาณการรายรับ เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ คือการประมาณยอดขายที่จะขายได้ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ยอดขายรายปีหรือรายเดือน เงินลงทุนในทรัพย์สินต่างๆ เช่น โรงงาน เครื่องจักร อาคารและอุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ และค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้น เพื่อจะได้ทราบว่าธุรกิจต้องการเงินลงทุนและเงินหมุนเวียนมากน้อยเพียงใด เพื่อจะนำไปสู่การวางแผนการจัดหาเงินในส่วนนี้ ควรทำประมาณการงบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด การวิเคราะห์จุดเสมอตัว ตลอดจนผลตอบแทนที่จะได้รับและระยะเวลาคืนทุน

2.    กำหนดภารกิจ (Mission) และเป้าหมาย (Goals) 

การตั้งร้านค้าต้องกำหนดให้แน่ชัดว่าจะตั้งร้านเพื่อทำธุรกิจอย่างไร? เช่น ค้าขาย จะขายสินค้าอะไรบ้าง?  จะขายไปยังผู้ซื้อทางธุรกิจ (B to B) หรือขายไปยังผู้ซื้อที่เป็นผู้บริโภค (B to C)  หรือขายทั้ง 2 ตลาด หรือจะเป็นร้านค้าประเภทให้บริการ เช่น เป็นเว็บท่า (Portal Site) หรือเป็นร้านค้าผสม ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่มักเป็นร้านค้าแบบผสมเพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดภารกิจทางธุรกิจของบริษัท
    เมื่อกำหนดแน่ชัดว่าธุรกิจจะทำอะไร?  ขั้นตอนต่อไปคือต้องกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ เช่น เป้าหมายการขาย เป้าหมายจำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชม  เป้าหมายของผู้ใช้บริการแต่ละประเภท เป็นต้น  


    ในการกำหนดภารกิจและเป้าหมายจะต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการ ดังนี้

1.    ภารกิจและเป้าหมายต้องเป็นแนวทางเดียวกับแผนธุรกิจ
2.    ระบุปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น เพราะการคิดถึงปัญหาไว้ก่อนจะทำให้ธุรกิจหาทางแก้ไข หรือพยายามหลีกเลี่ยง ซึ่งเป็นการลดลงความเสี่ยงทั้งทางด้านเวลา ความพยายามและเงิน ตัวอย่างเช่น เมื่อทราบว่าผู้บริโภคมักจะสำรวจหลายๆเว็บก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ควรจะตรวจสอบกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งขันก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งราคาของคู่แข่งขัน เป็นต้น ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างหนึ่งของการระบุปัญหาและแนวทางการแก้ไข

ปัญหา  แนวทางแก้ไข
  •  ลูกค้ามักจะเครียดหรือกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย
  •  ระหว่างเวลาที่มีคนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก มักจะทำให้การตอบสนองต่อ  ลูกค้าทำได้ช้า
  •  บางครั้งระบบอาจมีปัญหาทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้
  •  ลูกค้ามักจะมีการเปรียบเทียบราคาสินค้าจากหลายๆร้าน
  •  คู่แข่งขันมักจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตลอดเวลาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  •  ลูกค้ามักจะไม่สนใจ ถ้ามาที่เว็บไซต์แล้วพบว่าไม่มีอะไรใหม่ๆ    
  • ระบุหรือแสดงถึงระบบความปลอดภัยให้  ลูกค้าทราบอย่างเด่นชัด
  •  ต้องแน่ใจว่าระบบสามารถรองรับปริมาณของลูกค้าเป็นจำนวนมากได้

 จัดให้มีระบบสำรองป้องกันไว้

 ตั้งราคาให้สามารถสู้กับคู่แข่งขันได้

 ต้องพยายามกำหนดกลยุทธ์ให้อยู่ในระดับแนวหน้าเสมอ
 ปรับเว็บไซต์ให้ใหม่อยู่เสมอ

3.    ทบทวนกลยุทธ์การตลาด เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้น สามารถที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยการพิจารณาตั้งแต่ตลาดเป้าหมายว่าวิธีการแบ่งส่วนตลาดเหมาะสมหรือไม่?   ทำได้ถูกต้องหรือไม่? การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับตลาดเป้าหมายหรือไม่? กลยุทธ์ ส่วนผสมการตลาด (คุณภาพสินค้า ความหลากหลายของสินค้า ราคา การส่งเสริมและการสื่อสารการตลาด) เหมาะสมหรือไม่?  เป็นต้น

ในขั้นตอนนี้จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้หมดทุกข้อ
1.    อะไรคือภารกิจของท่าน? ท่านเป็นใคร? อะไรเป็นปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจของท่านเหนือกว่าคู่แข่งขัน?
2.    ท่านต้องการให้เว็บไซต์หรือร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ของท่านทำหน้าที่อะไร? เว็บไซต์จะช่วยให้ธุรกิจท่านประสบความสำเร็จได้อย่างไร?
3.    ท่านจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทของท่าน ประวัติ ลูกค้ารายสำคัญ ปรากฎบนเว็บหรือไม่? ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ขายสินค้าได้หรือไม่?
4.    ท่านจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการ คุณลักษณะ คุณประโยชน์ ราคา และข้อมูลอื่นที่ช่วยในการตัดสินใจซื้ออย่างไร?
5.    ถ้าท่านทำการค้าแบบดั้งเดิมควบคู่กับทำการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์จะขายสินค้าประเภทเดียวกันหรือต่างชนิดกัน? ถ้าชนิดเดียวกันจะจัดการด้านสินค้าคงคลังอย่างไร?
6.    รายละเอียดอะไรบ้าง? ที่จะบรรจุในอิเล็กทรอนิกส์แคตตาล็อก
7.    ท่านจะใช้เว็บไซต์ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าของท่านอย่างไร? จะบริการลูกค้าอย่างไร? และจะเก็บรวบรวมความคิดเห็นจากลูกค้าอย่างไร?
8.    ท่านจะให้บริการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าท่านอย่างไร? ลูกค้าท่านจะเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นได้มากน้อยแค่ไหน?

3.  การจัดการด้านอินเทอร์เน็ต (Access the Internet)
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการจัดหาทรัพยากร เพื่อให้สามารถเปิดร้านค้าทางอินเทอร์เน็ตได้ ทรัพยากรประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
1.    อุปกรณ์  คือ การจัดหาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับ  ลูกค้า อุปกรณ์หลักประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล (Gigabytes) หน่วยความจำหลัก (RAM) หน่วยความจำสำรอง (Hard Drive) อุปกรณ์เปลี่ยนแปลงรหัสข้อมูล (Modem) และจอภาพ ในการพิจารณาจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้ควรหาอุปกรณ์ที่ดีที่สุดที่จะจัดหาได้ เพราะเทคโนโลยีล้าสมัยเร็วมาก และควรจะจัดซื้อจากบริษัทที่มีความชำนาญสามารถให้คำปรึกษาได้และมีบริการตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง เพราะถ้าอุปกรณ์มีปัญหาจะทำให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงักได้ ถ้าใช้ระบบ EDI เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสินค้าคงคลังและด้านการเงินกับผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องพิจารณาระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นพิเศษ เพราะต้องการหน่วยความจำที่มาก ความเร็วสูง จอภาพที่ใหญ่พอที่จะเห็นหน้าร้านหรือแต่ละเว็บเพจได้เต็มหน้า
2.    จัดหาเครือข่ายในการติดต่อสื่อสาร
การค้าแบบอเล็กทรอนิกส์จะต้องเชื่อมโยงระบบของกิจการกับเครือข่ายภายนอก ซึ่งเชื่อมโยงถึงกันหมดทั้งโลก ซึ่งจะต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท ซึ่งจะใช้ระบบใดขึ้นอยู่กับขอบเขตการจัดการของแต่ละบริษัท ถ้าการเชื่อมโยงในบริษัททำในบริษัทต้องใช้ระบบ LANS (Local Area Networks) แต่ถ้าบริษัทมีสาขาหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศต้องใช้ระบบ WANS (Wide Area Networks)
2.    การเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ตทำได้โดยการใช้โมเด็ม ซึ่งความเร็วของโมเด็มมีหลายขนาด ปัจจุบันสูงสุดอยู่ที่ 56 K นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆอีก เช่น การใช้สายเคเบิ้ล DSL (Digital Subscriber Lines) และอื่นๆ ขณะนี้ที่ใช้กันในประเทศไทยคือ โมเด็ม 56 K และเทคโนโลยี DSL ในบางบริษัท
3.    ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) คือผู้ที่ท่านจะนำเว็บไซต์ไปฝากในอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นผู้พาร้านค้าของท่านไปเชื่อมโยงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือก ISP คือ ความเร็ว เพราะทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี  ที่สุด คำถามต่อไปนี้จะเป็นเครื่องมือในการคัดเลือกผู้ให้บริการ 
  • ความเร็วของผู้ให้บริการ ในการเชื่อมโยงกับระบบอินเทอร์เน็ตทั้งระบบ อยู่ในระดับใด?
  • ผู้ให้บริการให้พื้นที่ในการเปิดร้านค้ามากพอสำหรับการดำเนินงานปัจจุบันและขยายงานในอนาคตหรือไม่? และค่าใช้จ่ายเป็นเท่าไร?
  • ผู้ให้บริการมีประวัติการดำเนินงานเป็นอย่างไร?
  • ผู้ให้บริการมีระบบสำรองหรือไม่?
  • ผู้ให้บริการมีบริการอื่นที่ทำให้ท่านได้รับบริการครบวงจรจรหรือไม่?
  • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับบริการจากผู้ให้บริการมีประสิทธิภาพดีเพียงใด?

4.    เบราเซอร์ ผู้ให้บริการในการชมอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมี 2 บริษัทที่ได้รับความนิยมคือ Netscape Navigator (www.netscape.com) และ Microsoft Internet Explorer (www.microsoft.com) 


ตัวอย่างเว็บไซต์ www.microsoft.com ซึ่งเป็นเบราเซอร์ที่เป็นที่นิยม

5.    โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆที่จะช่วยในการทำร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพที่ดี เช่น ช่วยในการออกแบบเว็บไซต์ การดึงดูดหรือเรียกร้องความสนใจจากลูกค้า และอื่นๆ ซึ่งโปรแกรมต่างๆเหล่านี้ทางเว็บไซต์ www.tucows.com มีรายชื่อโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตทั้งหมด

ตัวอย่างเว็บไซต์ www.tucows.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมโปรแกรมด้านอินเทอร์เน็ต

4.  จัดหาสินค้าและบริการต่างๆ (Procure Product and Service)
    กรณีที่เป็นเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า เช่น หนังสือ เพลง ดอกไม้ เป็นต้น ต้องเตรียมความพร้อมในตัวสินค้า เช่น ในการขายหนังสือต้องเตรียมเรื่องสต๊อกสินค้า การจัดส่ง การชำระเงิน การขายเพลง ซึ่งไม่ต้องการจัดส่ง ต้องเตรียมโปรแกรมสำหรับการดาวน์โหลด หรือการขายดอกไม้ต้องเตรียมหาพันธมิตรในพื้นที่ต่างๆ เพื่อจัดส่งให้ลูกค้าได้ทันเวลา และคงสภาพความสดของดอกไม้ ในขณะเดียวกัน ต้องได้มาตรฐานเดียวกันในทุกพื้นที่ด้วย
    กรณีให้บริการ เช่น เป็นแหล่งค้นหาข้อมูล (Search Engine) บริการด้านกระดานข่าว (Web Board) หรือห้องสนทนา (Chat Room) บริการต่างๆ เหล่านี้ต้องเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านโปรแกรมและการจัดการ
เกณฑ์ในการคัดเลือกสินค้า
    การพิจารณานำสินค้ามาขายในร้านมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
1.    สินค้าต้องสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้
2.    ถ้าเป็นสินค้าที่หายาก (Exclusive) จะดีมาก เพราะผู้ซื้อไม่สามารถหาซื้อได้จากช่องทางการขายอื่น
3.    ราคาไม่แพงจนเกินไป
4.    น้ำหนักเบา มีขนาดใหญ่พอสมควร ง่ายต่อการขนส่ง
5.    มีสินค้าให้เลือกได้หลากหลาย
6.    ผู้จำหน่ายวัตถุดิบหรือผู้ผลิตสินค้าเป็นผู้มีความสามารถทางการจัดการ เพราะถ้าสินค้าขาดมือจะทำให้พลาดโอกาสทางการขาย
5.  ออกแบบเว็บไซต์ (Design Web Site)
    ขั้นนี้เป็นการสร้างหน้าร้านและเพื่อเป็นโชว์รูมสำหรับแสดงสินค้าและติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
1.    หน้าร้าน (Home Page) และแผนกต่างๆ (Web Page) ปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบ   ร้านค้าคือ “การสร้างความแตกต่าง” และการคำนึงถึง “ความสอดคล้อง” กับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย  www.ivillege.com เป็นเว็บที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้หญิง เพราะมีเรื่องราวทุกเรื่องที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้หญิง ในการออกแบบควรคำนึงถึงความเร็วในการเรียกดูแต่ละหน้า โดยเฉพาะหน้าแรก เพราะถ้าเรียกดูได้ช้า ผู้บริโภคก็จะเปลี่ยนไปดูเว็บอื่นแทน พึงระลึกไว้เสมอว่า “ข้อมูล” สำคัญกว่า “เทคนิค”
2.    การจัดการหลังร้านค้า คือ การจัดการระบบต่างๆ เพื่อสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ ส่วนนี้คือส่วนของโปรแกรมการสั่งงานต่างๆ 

ทั้ง 2 ส่วนนี้ ถ้าผู้ประกอบการไม่สามารถจัดหาได้ หรือไม่มีความรู้ทางด้านการจัดการสามารถพึ่งบริการจากบริษัทผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตต่างๆได้ อาทิเช่น การประมวลผลคำสั่งซื้ออัตโนมัติ เป็นโปรแกรมที่รวบรวมจำนวนของคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละราย และคำนวณจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องจ่าย ระบบข้อมูลลูกค้า (Database) ซึ่งจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวลูกค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ ระบบการชำระเงิน ระบบการส่งมอบสินค้าประเภทไม่ต้องขนส่ง (สินค้าพวก Soft Goods) ซึ่งผู้ซื้อใช้วิธีดาวน์โหลด การใช้อินทราเน็ต (Intranets) คือระบบที่ใช้ติดต่อกับหน่วยงานแต่ละหน่วยงานภายในองค์กรเดียวกัน และเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranets) คือระบบที่ใช้ติดต่อกันระหว่างองค์กรกับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจร่วมกัน 

    6.  จัดทำอิเล็กทรอนิกส์แคตตาล็อก (Create an Electronic Catalog) 
    เนื่องจากเราใช้เว็บไซต์ทำหน้าที่แทนทุกหน้าที่งานทางการตลาด จึงต้องจัดทำอิเล็กทรอนิกส์แคตตาล็อก ซึ่งเปรียบเสมือนกับแคตตาล็อกสินค้าของการตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้เลือกชมสินค้าได้อย่างเต็มที่ อิเล็กทรอนิกส์แคตตาล็อก สามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบคือ
1.    แคตตาล็อกแบบเดี่ยว (Stand-Alone-Catalog) คือเป็นแคตตาล็อกที่แสดงสินค้าหรือบริการของบริษัทอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น www.amazon.com ขายหนังสือด้วยวิธีนี้
2.    ทำเป็นศูนย์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mall หรือ Cyber Mall) คือรวบรวมสินค้าหลายๆหมวดหมู่ ตัวอย่างเช่น www.imall.com ซึ่งมีสินค้ามากกว่า 1,500 ประเภท    

ในการจัดทำแคตตาล็อกต้องคำนึงถึงปัจจัย ดังนี้
1.    การจัดหมวดหมู่ของสินค้าเพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
2.    การจัดโชว์สินค้ามีความโดดเด่น และเรียกร้องความสนใจจากลูกค้า ซึ่งส่วนนี้ต้องพิจารณาทางเลือกให้รอบคอบระหว่างข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและภาพ เพราะเทคโนโลยีที่ทำให้ภาพสวยงามจะทำให้การโหลดของหน้าจอช้า
3.    การกำหนดความต่อเนื่อง (Link) ของแต่ละหน้า เช่น ถ้าลูกค้าเข้ามาดูเสื้อผ้า ถ้าต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับแบบ ขนาดและสี ต้องสามารถคลิ๊กถามข้อมูลจนกระทั่งลูกค้าพอใจได้


7.  เลือกระบบและวิธีการจัดส่งสินค้า (Select a Method of Transportation)
ขั้นนี้เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับระบบและวิธีการจัดส่งว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง? เช่น จัดขนส่งได้กี่วิธี? ทางอากาศ ทางเรือ หรือ ทางบก  เลือกบริษัทจัดส่งสินค้า โดยพิจารณาจากชื่อเสียง ความถนัด เงื่อนไขต่างๆ และผลงานที่ผ่านมา (ถ้ามี) บริษัทจัดส่งสินค้าบางแห่งจะไม่รับขนส่งสินค้าบางประเภท เช่น อาหารสด หรือดอกไม้

8.  กำหนดวิธีการสั่งซื้อ (Develop a Method of Processing) 
ในการสั่งซื้อสินค้าต้องคำนึงถึง ความสะดวกของลูกค้าให้มากที่สุด เป็นการพิจารณา
-    การเลือกซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบตระกร้าให้ลูกค้าเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเท่าไร?
-    การขนส่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดการในขั้นตอนที่ 7  ซึ่งลูกค้าจะเลือกวิธีการจัดส่งเพื่อให้เหมาะสมกับลูกค้า และคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละวิธีเพื่อให้ลูกค้าเลือกตามความเหมาะสม
-    วิธีการชำระเงิน  ซึ่งต้องอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าแต่ละประเภท เช่น การชำระด้วยเครดิตคาร์ด สมาร์ทคาร์ด อีคาร์ด หรือ ตัดบัญชีธนาคาร เป็นต้น
ในการกำหนดวิธีการสั่งซื้อจะต้องจัดให้ระบบจ่ายเงินแบบทันทีทันใด (Real-Time Payment Solution) การจ่ายเงินอาจทำได้ 5 รูปแบบ คือ
1.    เงินสดเมื่อได้รับสินค้า
2.    จ่ายเป็นธนาณัติ
3.    บัตรเครดิต
4.    เงินสดอิเล็กทรอนิกส์
5.    สมาร์ทคาร์ด

9.  เลือกระบบความปลอดภัย (Select Security System) 
    ปัญหาที่สำคัญของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ คือผู้ซื้อไม่มั่นใจในความปลอดภัยของเลขที่บัตรเครดิตของตน    ผู้ซื้อกลัวว่าเมื่อชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิต จะมีผู้เอาเลขที่บัตรไปใช้ซื้อสินค้า ดังนั้น จึงต้องมีระบบรักษาความ ปลอดภัยให้กับเจ้าของบัตร โดยทำเป็นรหัสหรือการกรอกข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ซื้อ ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ
1.    SSL (Secure Socket Layer)  เป็นระบบที่จะต้องมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตและถอดรหัสเมื่อเข้าสู่ร้านค้าแล้ว ดังนั้นการขโมยข้อมูลระหว่างทางจะไม่สามารถถอดรหัสได้ แต่ร้านค้ามีความเสี่ยงที่ไม่สามารถทราบได้ว่า ลูกค้านั้นเป็นตัวจริงหรือไม่? เพราะใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ถูกติดตั้งเฉพาะที่ร้านค้าเท่านั้น นอกจากนี้พนักงานของร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถนำเลขที่บัตรของลูกค้าไปใช้ในทางมิชอบได้
2.    SET (Secure Electronic Transactions) คล้ายกับระบบ SSL คือมีการเข้ารหัสข้อมูลระหว่างส่งผ่าน แต่ทุกๆฝ่ายจะมีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หมด ทั้งลูกค้า ร้านค้า และธนาคาร ข้อมูลบัตรเครติดจะถูกเก็บรักษาไว้ที่ธนาคารจึงป้องกันปัญหาที่เกิดจากระบบ SSL ได้ทั้งหมด 

การเลือกระบบ จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับลูกค้าในด้านของความน่าเชื่อถือและเงินลงทุนในระบบ

10.    การส่งเสริมและการสื่อสารด้านการตลาด (Promotion and Marketing Communication)
เป็นขั้นตอนการสื่อสารการตลาดเพื่อให้ลูกค้ารู้จักร้านค้าและเข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการซื้อ สินค้า การส่งเสริมและการสื่อสารต้องทำ ดังนี้
1.    การส่งเสริมและการสื่อสารแบบออนไลน์ (Online Promotion and Marketing Communication)  คือ การสื่อสารไปยังผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก ซึ่งทำได้โดย
1.    เลือกชื่อโดเมนเนม การเลือกควรเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงธุรกิจที่ทำ เป็นการตั้งชื่อแบบที่เรียกว่า Functional Brand Name อาทิเช่น www.stampthai.com เป็นชื่อที่สื่อให้ลูกค้าเข้าใจว่าเป็นร้านที่ขายสินค้าเกี่ยวกับสแตมป์ของไทย กรณีที่มีชื่อร้านค้าที่ดีอยู่แล้ว ควรใช้ชื่อร้านค้าหรือบริษัทนั้นเป็นโดเมนเนม
2.    จดทะเบียนกับเสริชเอ็นจิ้น ปัจจุบันมีมากกว่า 300 แห่ง ควรเลือกเว็บไซต์ที่ติดอันดับต้นๆ
3.    หาคำที่จะเป็นคำที่หมายถึงสินค้าหรือบริการเพื่อที่เมื่อลูกค้าค้นหาในเสริชเอ็นจิ้น จะได้หาง่าย
4.    การเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายใกล้เคียงกันหรือเป็นเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง
2.    การส่งเสริมและการสื่อสารแบบออฟไลน์ (Offline Promotion and Marketing Communication) เป็นการใช้เครื่องมือการส่งเสริมการตลาดแบบดั้งเดิม โดยอาศัยสื่อการตลาดที่เป็นสื่อที่เข้าถึงในวงกว้าง เช่น การโฆษณาตามสื่อต่างๆ การประชาสัมพันธ์ และการใช้พนักงานขาย ตลอดจนเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เช่น นามบัตร ซองจดหมาย หัวกระดาษ แผ่นพับ ฯลฯ

ธุรกิจควรใช้การสื่อสารทั้ง 2 แบบ เพราะปัจจุบันการเข้าถึงและสร้างความประทับใจโดยใช้สื่อออนไลน์อย่างเดียวยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ

    การส่งเสริมและการสื่อสารการตลาดต้องคำนึงถึงกฎของการสื่อสารดังนี้
1.    การเข้าถึง (Reach) ต้องเลือกวิธีและสื่อที่สามารถเข้าถึงตลาดเป้าหมายได้
2.    ความถี่ (Frequency) การสื่อสารต้องใช้ความถี่ที่เหมาะสม
3.    ความประทับใจ (Impact) ข้อความที่สื่อไปยังผู้บริโภคต้องสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจในตัวสินค้า (Product Knowledge) ด้วย

11.  กำหนดวิธีการติดตามลูกค้า (Refine your Customer Feedback) 
    ขั้นตอนนี้ คือการทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อสินค้าและร้านค้า (E-Tailing Loyalty) ซึ่งทำได้โดย
1.    กระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอด้วยกลยุทธ์การตลาด อาทิเช่น การสร้างชุมชน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การนำเสนอสิทธิ์พิเศษต่างๆ เป็นต้น
2.    ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้าอยู่เสมอ ทั้งด้านสินค้าที่ลูกค้าซื้อ และบริการที่บริษัทนำเสนอ
3.    ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เป็นการตอกย้ำความทรงจำของลูกค้าที่มีต่อร้านค้า และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เครื่องมือที่นิยมใช้กัน คือ การส่งจดหมายข่าวด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)

ทั้ง 11 ขั้นตอน เป็นขั้นตอนหลักที่ผู้ที่คิดจะทำธุรกิจแบบออนไลน์สามารถใช้แนวทางในการดำเนินธุรกิจได้นอกจากนี้ ปัจจุบันมีศูนย์เพาะบ่มธุรกิจ (Incubator) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการออนไลน์ เช่น ศูนย์ธรรมศาสตร์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (www.tuecom.com) ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจสามารถขอรับบริการได้ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะช่วยแนะวิธีในการจัดตั้งร้านค้า และการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ขอรับการช่วยเหลือ เมื่อตั้งร้านค้าแล้ว ผู้ประกอบการต้องหายุทธวิธีที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อใจ และมีความจงรักภักดีต่อร้าน

วิธีทำให้ลูกค้าเชื่อใจร้านค้า
1.    ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทของเรา อย่างครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อเป็นการแสดงถึงความจริงใจ ความซื่อสัตย์ และความพร้อมที่จะบริการลูกค้า
2.    รายละเอียดของสินค้า บริการและข้อเสนอต่างๆต้องชัดเจน ตรงไปตรงมา และปฏิบัติตามกติกา
3.    อย่าโฆษณาหรือโอ้อวดจนเกินความเป็นจริง เพราะลูกค้าพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงจะทำให้หมดความเชื่อถือได้
4.    มีการรับประกัน จะช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องรู้สึกเสี่ยงกับการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ไม่เห็นตัวสินค้าจริง
5.    มีบุคคลอ้างอิง ถ้าเป็นไปได้ควรจะพยายามขายให้กับบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ้างอิง
6.    อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าติดต่อได้ง่ายทั้งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือโทรศัพท์ และตอบคำถามลูกค้าโดยผู้มีความรู้และรวดเร็ว

การสร้างความภักดีต่อร้านค้า
    เมื่อสร้างร้านค้าแล้วจะต้องหาวิธีสร้างความภักดี (Loyalty) จากลูกค้าเพื่อให้ใช้เวลาที่ลูกค้าอยู่กับอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่อยู่ที่ร้านค้าของเรา การสร้างความภักดีที่ได้หลายวิธี ดังนี้
1.    สร้างระบบสมาชิก และเสนอสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก
2.    จัดหาสินค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่สำหรับลูกค้าอยู่เสมอ
3.    ขายสินค้าอื่นที่เหมาะสมกับลูกค้าควบคู่ไปการขายสินค้าที่ลูกค้าเลือกซื้อ (Cross Selling)
4.    ขายสินค้าที่มีคุณภาพ หรือ ราคาสูงกว่าสินค้าที่ลูกค้าใช้อยู่ (Up Selling)
5.    จัดทำโปรแกรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relation Management : CRM)


บทสรุป

    การเลือกทำการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการควรเข้าใจถึงลักษณะและกลยุทธ์ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีความแตกต่างจากการค้าแบบดั้งเดิมหลายประการ ในการสร้างร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีที่จะช่วยในการสร้างร้านค้า การจัดการ และการส่งเสริมร้านค้า แต่ไม่จำเป็นต้องผลิตหรือสร้างเทคโนโลยีได้ เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจในแนวคิดและประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นๆ ต้องเข้าใจขั้นตอนในการตั้งร้านค้าและปฏิบัติตามขั้นตอน เพราะการเริ่มต้นอย่างถูกหลักการ จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำแผนธุรกิจจะช่วยเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเป็นเสมือนหลักประกันหนึ่งในการ